• 0nogift67.png
  • 1.1nogift67.png
  • 1.2nogift67.png
  • 1.3nogift67.png
  • 1nogift67.png
  • 2nogift67.png
  • 3.1nogift67.png
  • 3.2nogift67.png
  • 3nogift67.png
  • 4nogift67.jpg

มูลนิธิ รพร.สาขานครไทย



ผู้อำนวยการโรงพยาบาล


แพทย์หญิงสุภาพร  ปรางค์เจริญ

นายแพทย์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง
ผอ. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย

ตุลาคม 2565 - ปัจจุบัน


Knowledge Management board :KM

คลังความรู้ : Knowledge Base

ระบบรายงานคุณภาพโรงพยาบาล


เข้าระบบสมาชิก

ส่งบทความ

งานรับส่งหนังสือ สารบรรณกลาง

เบอร์โทร : 055-389060 ต่อ 153
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ :
saraban-nktcph@nktcph.go.th



Home CQI CQI 2565 การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินขณะนอนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  1. ชื่อผลงาน: การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินขณะนอนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  2. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร: กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช      นครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  3. คำสำคัญ: ยาต้านการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยา, ผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน, ความคลาดเคลื่อนจากความต่อเนื่องทางยาของยาวาร์ฟาริน
  4. สรุปผลงานโดยย่อ: ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชนครไทยทั้งหมด 151 ครั้ง (127 ราย) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 พบปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด 184 ครั้ง โดยเภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้ร้อยละ 90.03 ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการไม่สั่งตรวจค่า INR ปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินกับสภาวะโรค และปัญหาอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินกับยาอื่น โดยเภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาดังกล่าวได้ร้อยละ 91.38, 83.33 และ 88.24 ตามลำดับ การให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาแก่แพทย์โดยเภสัชกรได้รับการตอบรับจากแพทย์รวมทั้งหมดร้อยละ 90.03 โดยเป็นการตอบรับคำแนะนำครั้งแรกร้อยละ 74.82 และการตอบรับเพิ่มหลังการให้คำแนะนำซ้ำร้อยละ 78.95 ในด้านประสิทธิภาพการรักษา พบว่า การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ช่วยเพิ่มร้อยละค่า INR ที่อยู่ในช่วงเป้าหมายจากร้อยละ 19.56 ในวันแรกรับ เป็นร้อยละ 54.64 ในวันที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ด้านผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟาริน พบว่า การให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกร ช่วยลดร้อยละผลข้างเคียงจากการใช้ยาวาร์ฟารินจากร้อยละ 25.32 ในช่วง 3 เดือนก่อนมานอนโรงพยาบาล เป็นร้อยละ 18.67 ในวันที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และนอกจากนี้ภายหลังจากมีการพัฒนาระบบ พบว่า ร้อยละความคลาดเคลื่อนจากความต่อเนื่องทางยาของยาวาร์ฟารินที่แนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ลดลงจากเดิมร้อยละ 0.035 เป็นร้อยละ 0 ต่อพันวันนอน




Smart Hospital

รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ความคิดเห็น


สรุปข้อมูลการเงินการคลัง และแผนธุรกิจ



Link Facebook รพร. นครไทย


แอพพลิเคชั่น สำหรับผู้รับบริการ

     บันทึกข้อร้องเรียนร้องทุกข์ ข้อเสนอแนะ


          แจ้งเตือนการนัดหมาย